cosmetic2566

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565

Bachelor of Science Program in Cosmetic Sciences and Natural Products

จำนวนรับเข้าศึกษา
55 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

โดยประมาณ 

22,000/ภาคการศึกษา

จุดเด่นของหลักสูตร
    –
ปรัชญาของหลักสูตร

    วิทยาการมุ่งส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากธรรมชาติ โดยมุ่งใช้องค์ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา แก้ไขปัญหา และการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงความสามารถในการให้ข้อมูลและคำแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภค โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

ความสำคัญของหลักสูตร

    1) เพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 2) เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ 3) เพื่อให้หลักสูตรตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตทั้งภาครัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ และการประกอบธุรกิจส่วนตัว

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

    

1) นักวิจัยและพัฒนาในบริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางและ/หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากธรรมชาติ รวมทั้งบริษัทที่จำหน่ายสารที่ใช้ในเครื่องสำอางและสารสกัดจากธรรมชาติ และหน่วยปฏิบัติการวิจัยของสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

2) ทำงานในบริษัทที่ผลิต หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ โดยทำหน้าที่ เช่น จดแจ้งหรือขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้คำแนะนำการเลือกและใช้ผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้องแก่ผู้บริโภค และผู้แทนจำหน่าย เป็นต้น

3) เป็นผู้ประกอบการ เพื่อผลิตและ/หรือจำหน่ายเครื่องสำอางและ/หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากธรรมชาติ

4) ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ในสาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและ/หรือผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

    

ELO1. อธิบายหลักการ แนวคิด ทฤษฎี การเตรียม การตั้งตำรับเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในกลุ่มคอสเมซูติคอลและนิวตราคอสเมซูติคอล (TQF 2.1)

ELO2. สามารถเลือกใช้วัตถุดิบ สมุนไพรและวิธีการที่เหมาะสมในการเตรียม ตั้งตำรับเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติได้ (TQF 2.3)

ELO 3. สามารถพัฒนาตำรับเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติได้ตามความต้องการ (TQF 3.4)

ELO 4. ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมคุณภาพเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติได้ (TQF 2.1)

ELO 5. สามารถใช้ภาษาอังกฤษ และ/หรือ ภาษาต่างประเทศอื่น เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล นำเสนอและสื่อสารได้ (TQF 5.3)

ELO 6. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล นำเสนอและสื่อสารได้ (TQF 5.2)

ELO 7. อธิบายข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติได้ (TQF 2.2)

ELO 8. พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ ให้ข้อมูลและคำแนะนำที่เกี่ยวกับเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ โดยใช้การบูรณาการองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิต การบริหาร และการตลาด ได้อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ (TQF 3.1/3.3/3.4)

ELO 9. ดำเนินกิจกรรม อย่างมีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ มีจิตสำนึกและเคารพกฎระเบียบ ของสังคม และมีจริยธรรมเชิงวิชาการและการวิจัย (TQF 1.1/1.2/1.3/1.4)

ELO 10. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (TQF 4.1/4.2/4.4)

ELO 11. สามารถใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และสถิติ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ (TQF 5.1)

วิธีการสมัคร

ผู้ที่สนใจจะสมัครเข้าศึกษาต่อในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สามารถสมัครผ่านช่องทางต่างๆ ตามคุณสมบัติที่กำหนด ดังนี้
ระดับปริญญาตรี
– ระบบ Admission กลาง โดยผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต้องผ่านกระบวนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-Net) โดยจะนำผลการทดสอบดังกล่าวมาเลือกคณะและสาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ตามความต้องการโดยผ่านทางการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
– ระบบรับตรง (โควต้า) มหาวิทยาลัยดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง คือ จังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
– โครงการพิเศษ