กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ลักษณะที่ 1 : ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ (กยศ.เดิม) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 ให้เริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ต่อมารัฐบาลได้พิจารณาเห็นความสำคัญของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้ว 2 ปี นับจากปีที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษา (ครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี) ผู้กู้ต้องชำระหนี้ภายในระยะเวลา 15 ปี แต่หากในช่วงระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนครบกำหนดเวลาชำระหนี้ได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ลักษณะที่ 2 : ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็น (กรอ.เดิม) จัดตั้งขึ้นจากนโยบายปฏิรูประบบการเงินเพื่ออุดมศึกษาเมื่อปี 2547 ได้ส่งผลให้เกิดระบบกู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบใหม่ที่เรียกว่า กองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) เพื่อให้สิทธิ์ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันในระดับอุดมศึกษา และอนุปริญญาโดยให้ผู้เรียนรับภาระค่าใช่จ่ายตามความเหมาะสมและชำระเงินคืน เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดผ่านระบบการจัดเก็บภาษีของกรมสรรรพกร ซึ่งระบบการกู้ยืมเงินแบบ กรอ. จะทำให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนดำเนินการจัดการศึกษาในเงื่อนไขที่มีความเท่าเทียมกัน มีความเป็นอิสระในการดำเนินงานและแข่งขันกันพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาสู่การผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาการต่างๆ ที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และเมื่อผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืน สำเร็จการศึกษา หรือเลิกศึกษา และมีรายได้ 16,000 บาท (หนึ่งหมื่นหกพันบาท) ต่อเดือน หรือ 192,000 บาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่นสองพันบาท) ต่อปี มีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมพร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้คืนกองทุนในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
ข้อมูลแสดงความเหมือนหรือแตกต่างระหว่างการกู้ยืมเงินในลักษณะที่ 1 กับลักษณะที่ 2
รายการ | ลักษณะที่ 1
ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ (กยศ.เดิม) |
ลักษณะที่ 2
ผู้ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักฯ (กรอ.เดิม) |
รายได้ผู้ปกครอง | ไม่เกิน 200,000 บาท ต่อปี | ไม่จำกัดรายได้ |
สาขาวิชา | สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางฯ | สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางฯ |
ค่าเล่าเรียน | กู้ได้จำนวนเงินตามหลักสูตรกำหนดและตามภาคการศึกษาบังคับ | กู้ได้จำนวนเงินตามหลักสูตรกำหนดและตามภาคการศึกษาบังคับ |
ค่าครองชีพ เดือนละ 2,400 บาท | กู้ได้ | กู้ได้เฉพาะที่ผู้ปกครองมีรายได้ไม่เกิน 200,000 บาท ต่อปี |
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่อง | กู้ไม่ได้ | กู้ไม่ได้ |
การชำระหนี้ | หลังจากสำเร็จการศึกษา หรือเลิกการศึกษาแล้ว 2 ปี | เมื่อมีรายได้ 16,000 บาท ต่อเดือน หรือ 192,000 บาท ต่อปี |
ดอกเบี้ย | ร้อยละ 1 ต่อปี | ร้อยละ 1 ต่อปี |
ระยะเวลาการชำระหนี้ | ภายในระยะเวลา 15 ปี | ภายในระยะเวลา 15 ปี |
จิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ | ต้องทำกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ ไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง ต่อปี | ต้องทำกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ ไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง ต่อปี |
https://www.studentloan.or.th/index.php กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.ใหญ่)
https://studentloan.nu.ac.th/Default.aspx ระบบทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษามหิวทยาลัยนเรศวร (กยศ.มน.)
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่นายธเรศ แก้วบวรรัตน์ เบอร์โทร.093-8766929
2,099 total views, 4 views today