PharmD2566

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม

Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care

จำนวนรับเข้าศึกษา
100 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
6 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

โดยประมาณ 

22,000/ภาคการศึกษา

จุดเด่นของหลักสูตร
    –
ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรมีความมุ่งหมายที่ สร้างเภสัชกรที่มีความรู้และทักษะการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ร่วมกับมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตลอดจนมีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม

ความสำคัญของหลักสูตร

เภสัชกรเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดูแลสุขภาพด้านยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ หลักสูตรจึงมุ่งเน้นที่จะผลิตเภสัชกรที่มีความรู้ด้านยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ และมีความสามารถทั้งการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเฉพาะรายอย่างเป็นองค์รวม การจัดการด้านยาเชิงระบบ การสร้างเสริมสุขภาพ และการทำงานเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการใช้ยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างสมเหตุผลและปลอดภัย อีกทั้งเป็นเภสัชกรที่มีจรรยาบรรณการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

1.เภสัชกรในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น

2.เภสัชกรในหน่วยงาน/สถานประกอบการอื่นๆ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  บริษัทยา เครื่องสำอาง หรือ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นต้น

3.ประกอบอาชีพอิสระ ได้แก่ เภสัชกรประจำสถานประกอบการเภสัชกรรมชุมชน (ร้านยา)

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. เป็นผู้มีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ ยึดมั่นคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต

2. ปฏิบัติงานวิชาชีพสอดคล้องกับจรรยาบรรณและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ คำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยและดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

3.  รอบรู้ในสาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 

4. บริหารเวชภัณฑ์ในสถานบริการสุขภาพ และร้านยาได้อย่างเหมาะสม

5. ให้การบริการเภสัชปฐมภูมิ ทั้งแนะนำการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการแก้ปัญหาด้านยา จัดการปัญหาสาธารณสุข รวมทั้งดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพได้

6. สามารถวางแผน ป้องกัน และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาได้ทั้งเฉพาะรายและเชิงระบบ

7. มีทักษะการวิจัย ในการคิด การทำ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 

8. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 

วิธีการรับสมัคร

ผู้ที่สนใจจะสมัครเข้าศึกษาต่อในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สามารถสมัครผ่านช่องทางต่างๆ ตามคุณสมบัติที่กำหนด ดังนี้
ระดับปริญญาตรี
– ระบบ Admission กลาง โดยผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต้องผ่านกระบวนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-Net) โดยจะนำผลการทดสอบดังกล่าวมาเลือกคณะและสาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ตามความต้องการโดยผ่านทางการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
– ระบบรับตรง (โควต้า) มหาวิทยาลัยดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง คือ จังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี